Sign In
เลือกภาษา
Contact Us Download

Watch this VIDEO through the end… you may find soulmates in stem cells transplant.

Do you believe in fate? There is someone, somewhere in the world hoping that one day they will find someone with an HLA tissue match that could possibly help them cure their blood disease. There are currently over 290,000 people that are blood donors who have signed up to volunteer for stem cell donation but there have been only 457 matches found that were able to help treat patients.

Come and join to give another important opportunity for the other 2,407 blood disease patients who are still trying to find a stem cell match for a chance to receive a stem cell transplant. To donate blood and register as a stem cell donor, volunteer at:

  • The National Blood Centre of the Thai Red Cross Society, Tel 0 2256 4300
  • The 3th Regional Blood Centre in Chonburi Province, Tel 0 3827 8905
  • The 5th Regional Blood Centre in Nakhon Ratchasima, Tel 0 4493 8938
  • The 6th Regional Blood Centre in Khon Kaen, Tel 0 4342 4630-1
  • The 10th Regional Blood Centre in Chiang Mai, Tel 0 5341 8983-90

ทดสอบข่าวสารประจำ

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า สาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมมือกับสาขาโลหิตวิทยา สาขาวิชาระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติโรคระบบการหายใจ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ร่วมกันรักษาพยาบาลผู้ป่วย 2 ราย ที่มีปัญหาผิวหนังแข็งและปอดเป็นพังผืด ด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และความทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์ที่นำเอาองค์ความรู้ และการศึกษาวิจัยรวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์เกี่ยวกับสเต็มเซลล์มาใช้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ด้าน ศ.พญ.มนาธิป โอศิริ หัวหน้าสาขาวิชาโรคข้อและรูมาติสซั่ม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า โรคผิวหนังแข็ง หรือ systemic sclerosis เป็นโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของหลายอวัยวะในร่างกาย โดยมีลักษณะเด่น คือ การเกิดพังผืดที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน ทำให้ผิวหนังแข็ง ปอดเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหัวใจเป็นพังผืด ทำให้หัวใจโต และหัวใจวายได้ เกิดกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหารเป็นพังผืด ทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ลดลงหรือไม่บีบตัว ร่วมกับอาการจากการตีบตันของหลอดเลือดแดง ทำให้ปลายนิ้วขาดเลือด ที่ไตทำให้เกิดไตวายเฉียบพลันได้ หลอดเลือดแดงที่ปอดตีบตัน ทำให้แรงดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจทำให้หัวใจวายได้

ศ.พญ.มนาธิป กล่าวด้วยว่า การดำเนินของโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแบบเรื้อรัง ทุกข์ทรมาน แต่ก็มีบางส่วนที่มีการดำเนินของโรครวดเร็ว รุนแรง ทำให้เสียชีวิตในระยะเวลาอันสั้นได้ โรคผิวหนังแข็งพบได้ไม่บ่อย ความชุกประมาณ 4 ถึง 35 รายต่อประชากร 1 แสนคน พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 3 เท่า อายุเฉลี่ยขณะเริ่มมีอาการ 40-50 ปี ส่วนใหญ่พบในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ คือ ภาวะปอดเป็นพังผืด แรงดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง และหัวใจวาย การรักษาโรคนี้ควรจะเริ่มให้การรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อชะลอการดำเนินของโรคและความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย โดยประเมินว่าโรคมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็วรุนแรงหรือค่อยเป็นค่อยไป และมีอาการที่อวัยวะใดบ้างที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย วิธีที่จะจัดระเบียบของระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาเป็นปกติ คือ การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ นั่นเอง.

“ต๊อบ ประคัลภ์” บริจาคสเต็มเซลล์ ช่วยผู้ป่วยลิวคีเมียในต่างแดน

“ต๊อบ” ประคัลภ์  ใบงาม

บริจาคสเต็มเซลล์ช่วยผู้ป่วยลิวคีเมียสัญชาติอเมริกันในต่างแดน

อายุ 34 ปี  หมู่โลหิต AB

ทำงานบริษัทเอกชน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ Food Business

จุดเริ่มต้นของการให้

เริ่มต้นจากการบริจาคโลหิตเป็นประจำ กว่า 31 ครั้ง และได้มีโอกาสลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ หลังจากการลงทะเบียนไปประมาณ 3 ปี จึงได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตฯ พร้อมทั้งเชิญให้ผมเข้าไปที่ศูนย์บริการโลหิตฯ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการบริจาค รวมถึงให้รับทราบขั้นตอน และกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์ ซึ่งผู้ป่วยเป็นคนเชื้อสายเอเชียที่มีสัญชาติเป็นอเมริกัน และป่วยเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ

เมื่อทราบว่าสเต็มเซลล์ตรงกับชาวต่างชาติ

รู้สึกประหลาดใจมาก เพราะเขาเป็นผู้ป่วยคนละสัญชาติ คนละภาษา สเต็มเซลล์ของคนไทยด้วยกัน ผมก็ว่าเข้ากันได้ยากมากแล้ว แต่ผู้ป่วยเขาเป็นชาวต่างชาติ โอกาสยิ่งยากกว่า คนในครอบครัวเมื่อทราบข่าว ล้วนสนับสนุน และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สเต็มเซลล์ คือโอกาสในการทำบุญครั้งหนึ่งของชีวิต

ประสบการณ์การบริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต

เนื่องจากพยาบาลเห็นว่าผมมีเส้นโลหิตดำที่ใหญ่พอ ผมจึงได้บริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากการบริจาค สุขภาพร่างกายของผมแข็งแรงเป็นปกติดี ติดเพียงแค่ก่อนทำการบริจาค ตัวยา G-CSF ที่ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างสเต็มเซลล์ในกระแสโลหิต ส่งผลให้ร่างกายปวดเมื่อย และง่วงนอนตลอดเวลา แต่สำหรับผมแล้ว นับว่าเป็นผลกระทบที่เล็กน้อยมาก

เชิญชวน

การบริจาคโลหิตก็ดี หรือการบริจาคสเต็มเซลล์ก็ดี ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิด นอกจากจะได้บุญมากมายมหาศาลแล้ว ยังเป็นการสร้างเม็ดโลหิตใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยที่เราไม่ได้สูญเสียอะไร นอกจากโลหิตเพียงไม่กี่ซีซีเท่านั้น ถ้าเราเป็นชาวพุทธ และมีความเชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรม การทำแบบนี้เป็นการทำบุญ โดยที่เรายังมีชีวิตอยู่ และเรายังได้ซึมซาบความรู้สึกสุขเหล่านั้นด้วย