เข้าสู่ระบบ
เลือกภาษา
ติดต่อ ดาวน์โหลด

ขอเป็นผู้ให้ต่อเนื่อง ‘เจมส์จิ’ ให้โลหิต ให้ชีวิต ให้โอกาสตามหาคู่แท้สเต็มเซลล์

          ‘เจมส์ – จิรายุ ตั้งศรีสุข’ นักแสดงชื่อดัง ร่วมบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หลังครบกำหนดบริจาคโลหิต 3 เดือน ในโอกาสนี้ คุณเจมส์ ได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตามหาคู่แท้สเต็มเซลล์ให้กับผู้ป่วยโรคเลือด โดย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ HLA กับผู้ป่วยโรคเลือด ซึ่งการบริจาคสต็มเซลล์เป็นอีกหนึ่งโอกาสให้กับผู้ป่วยโรคเลือดที่กำลังรอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกัน

“เพียง 1 ตัวอย่างโลหิต เพิ่มโอกาสให้ 1 ชีวิตใหม่”

          สำหรับผู้ที่สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และขึ้นทะเบียน ได้ที่

• ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2256 4300
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี โทร. 0 3827 8905
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา โทร. 0 4493 8938
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4342 4630-1
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5341 8389-90

‘เกรท-วรินทร’ ถึงคู่แท้ชีวิตจริงยังไม่มา แต่ขออาสามาตามหาคู่แท้สเต็มเซลล์ช่วยผู้ป่วยโรคเลือด

          คุณเกรท – วรินทร ปัญหกาญจน์ ดารานักแสดงชื่อดัง เดินทางมาร่วมบริจาคโลหิต ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย หลังครบรอบ 3 เดือน ของการบริจาคโลหิต โดยในครั้งนี้ ยังได้ร่วมลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ เพื่อให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ HLA กับผู้ป่วยโรคเลือด เพื่อเพิ่มโอกาสทางการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หนทางสู่ชีวิตใหม่ของผู้ป่วยโรคเลือด

“เพียง 1 ตัวอย่างโลหิต เพิ่มโอกาสให้ 1 ชีวิตใหม่”

          สำหรับผู้ที่สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และขึ้นทะเบียน ได้ที่

• ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2256 4300
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี โทร. 0 3827 8905
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา โทร. 0 4493 8938
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น โทร. 0 4342 4630-1
• ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 0 5341 8389-90

“แอฟ – ทักษอร” ร่วมเแสดงพลัง “ฺ่Blood Hero?” บริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย พร้อมมอบอีก 1 โอกาสสำคัญให้กับผู้ป่วยโรคเลือด

          คุณแอฟ ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ดารา-นักแสดงสาวสวยขวัญใจคนไทย ร่วมบริจาคโลหิตในโครงการ “Blood Hero ปี 2” และลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจหาความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ HLA กับผู้ป่วยโรคเลือด เป็นการเพิ่มโอกาสทางการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หนทางสู่ชีวิตใหม่ของผู้ป่วยโรคเลือด ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

“เพียง 1 ตัวอย่างโลหิต เพิ่มโอกาสให้ 1 ชีวิตใหม่”

          สำหรับผู้ที่สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และขึ้นทะเบียน ได้ที่

  • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  โทร. 0 2256 4300
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี  โทร. 0 3827 8905
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา  โทร. 0 4493 8938
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  โทร. 0 4342 4630-1
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่  โทร. 0 5341 8389-90

“มาริโอ้ เมาเร่อ” ขอเป็นอีก 1 โอกาส ให้กับผู้ป่วยโรคเลือด

(30 เมษายน 2564) คุณมาริโอ้ เมาเร่อ นักแสดงชื่อดัง เดินทางมาร่วมบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะวิกฤติขาดแคลนโลหิตจากสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ พร้อมกันนี้ คุณมาริโอ้ได้ร่วมลงทะเบียนอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA เป็นอีก 1 โอกาสให้กับผู้ป่วยโรคเลือดที่กำลังรอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกัน 

“เพียง 1 ตัวอย่างโลหิต เพิ่มโอกาสให้ 1 ชีวิตใหม่”

สำหรับผู้ที่สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ สามารถลงทะเบียนพร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อเก็บตัวอย่างโลหิตนำไปตรวจเนื้อเยื่อ HLA และขึ้นทะเบียน ได้ที่

  • ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  โทร. 0 2256 4300
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 3 จังหวัดชลบุรี  โทร. 0 3827 8905
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา  โทร. 0 4493 8938
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 6 จังหวัดขอนแก่น  โทร. 0 4342 4630-1
  • ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่  โทร. 0 5341 8389-90

จากใจผู้รับ : คุณศุภศักดิ์ เชยชุ่ม ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

จากใจ…ถึงใจ (จากผู้รับ)

ได้รับเกียรติจากคุณศุภศักดิ์ เชยชุ่ม ร่วมแชร์ประสบการณ์ที่ครั้งหนึ่งเคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระยะที่ 3 และได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ปัจจุบันหายขาดจากโรคแล้ว

“ย้อนไปเมื่อ 10 ปี สังเกตพบว่ามีอาการอ่อนแรง ไม่สบายง่าย ติดเชื้อง่าย รวมถึง มีรอยช้ำตามร่างกาย เมื่อไปเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล จึงพบว่า ผมป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) ระยะที่ 3 (ระยะเกือบสุดท้าย) ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาด้วยการให้เคมีบำบัด และต้องปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ โดยใช้เซลล์ของตนเอง ในกระบวนการนี้จะต้องได้รับโลหิตและเกล็ดโลหิตจาก “ผู้บริจาค” เพื่อให้ค่าโลหิตอยู่ในระดับคงที่ หากวันนั้นไม่มีโลหิตจากผู้บริจาค ผมก็คงไม่มีวันนี้ ถึงแม้ว่าผมจะไม่มีโอกาสได้ใช้สเต็มเซลล์จากผู้บริจาค แต่ก็อยากฝากถึงผู้บริจาคโลหิต และผู้ที่ได้ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ว่า สิ่งที่ท่านทำถือเป็นกุศลอันแรงกล้าที่ต่อชีวิตและลมหายใจให้กับผู้ป่วย ขอให้ท่านดูแลรักษาสุขภาพ เตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อให้โลหิตและสเต็มเซลล์ที่ท่านได้บริจาคมานั้นเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยสูงสุด”

 

เล่าให้ฟัง…

เรียบเรียงโดย : ปันปัน ผู้ตามหาคู่แท้สเต็มเซลล์

จากใจผู้ให้ : คุณไพริน เปี่ยมพร้อม กับบุญที่ยิ่งใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

จากใจ…ถึงใจ (จากผู้ให้)

ได้รับเกียรติจาก คุณไพริน เปี่ยมพร้อม เจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย มาบอกเล่าประสบการณ์ของการเป็นผู้บริจาคสเต็มเซลล์ช่วยชีวิตผู้ป่วยลูคีเมียเฉียบพลันชาวสิงคโปร์

“ตอนที่รู้ว่าผลสเต็มเซลล์ของเราเข้ากันได้กับผู้ป่วย ตอนนั้นรู้สึกดีใจมาก หัวใจมันหวิวๆ แบบบอกไม่ถูก คือเราจะได้ช่วยผู้ป่วย ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยากมากที่จะมีผลสเต็มเซลล์ตรงกับของผู้ป่วย จึงรีบติดต่อไปที่ศูนย์บริการโลหิตฯ สอบถามรายละเอียด และกลับเข้ามาตรวจในระดับละเอียดตามที่เจ้าหน้านัดหมายมา คนในครอบครัวและคนรอบข้างเมื่อทราบว่าเราจะได้บริจาคสเต็มเซลล์เซลล์ก็เกิดความเป็นห่วง แต่เมื่อเราอธิบายให้เขาฟังจนเข้าใจ ทุกคนก็ดีใจกับเราที่มีโอกาสได้ช่วยชีวิตคนๆหนึ่งและไม่คัดค้านใดๆ”

“อยากเชิญชวนทุกคน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้หายขาดจากโรค เพราะยังมีผู้ป่วยอีกหลายคนที่ยังรอความช่วยเหลือจากคุณอยู่ เขาเหล่านั้นรอด้วยความหวังว่าจะมีปาฏิหาริย์ เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่กับครอบครัวและคนรักต่อไป และบุญที่ใหญ่ที่สุด คือการได้ช่วยชีวิตคนหนึ่งคน ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้ด้วยตา มาร่วมกันลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครกันนะคะ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ผู้ป่วยที่ยังรอความหวังที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ต่อไป”

เล่าให้ฟัง…

เรียบเรียงโดย : ปันปัน ผู้ตามหาคู่แท้สเต็มเซลล์

ยุ้ย ปิยะพร อภิญญานนท์

เคยได้รับการผ่าตัด และต้องใช้โลหิตบริจาคจำนวนมากจากผู้อื่น
สิ่งนั้นจึงเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการทำดี ด้วยการบริจาคโลหิต และบริจาคสเต็มเซลล์ในวันนี้
จุดเริ่มต้นของการให้โลหิต
ยุ้ยเคยได้รับการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ เนื่องจากลำไส้อุดตัน อยู่ในห้องไอซียูนานร่วมเดือน เพราะอาการแย่ลง ช่วงนั้นเกล็ดโลหิตต่ำ ยุ้ยจึงได้
รับโลหิตจากผู้บริจาคจำนวนมาก เหตุการณ์วันนั้นกลายเป็นจุดเปลี่ยนชีวิต และความคิดของยุ้ย ในเมื่อเราเป็นผู้ได้รับ และมีชีวิต
ใหม่ที่ดี เราก็อยากเป็นผู้ให้ชีวิตที่ดีกับผู้อื่นบ้าง ตั้งใจว่า จะบริจาคโลหิตตลอดไป และอีกสาเหตุที่ทำให้ยุ้ยบริจาคโลหิต คือ ยุ้ยมี
คุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจ คุณพ่อเป็นผู้บริจาคโลหิตมาก่อน อยากสานต่อเจตนารมย์จากคุณพ่อ
กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ
กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เราต้องต่อสู้ อดทนกับอุปสรรคที่เจอ แล้วผ่านมันไปให้ได้ ต่อให้มีกำลังใจจาก
คนอื่นมากมาย แต่ถ้าตัวเราเองไม่สู้ ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น และกำลังใจจาก “ครอบครัว” เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะครอบครัวเปรียบ
เสมือนพื้นที่เล็กๆ ที่ทำให้ยุ้ยรู้สึกปลอดภัย เราสามารถแสดงความอ่อนแอได้อย่างไม่อายใคร เพราะฉะนั้นหากยุ้ยทุกข์ใจ ก็จะมีครอบ
ครัวนี่แหละ ที่คอยรับฟัง และให้กำลังใจยุ้ยเสมอ
ให้โลหิต ให้สเต็มเซลล์
ปกติยุ้ยบริจาคโลหิตกับหน่วยเคลื่อนที่ในมหาวิทยาลัย และมีโอกาสได้มาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เห็นเคาน์เตอร์รับลง
ทะเบียนอาสาสมัครหาคู่แท้สเต็มเซลล์ และได้ทราบว่าสเต็มเซลล์จากผู้บริจาคสามารถนำไปรักษาโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ เลย

ตัดสินใจลงทะเบียนไว้ ระยะเวลาเพียงไม่ถึง 6 เดือน เจ้าหน้าที่แจ้งว่าเรามี สเต็มเซลล์เข้ากับผู้ป่วย ตอนนั้นคิดไปไกลแล้วว่า เราจะได้

ช่วยเขาแล้ว เขาจะหายป่วยแล้ว ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะได้ให้ สเต็มเซลล์กับผู้ป่วยคนนี้หรือเปล่า ได้แต่ภาวนาขอให้เราได้ช่วยเขา และขอให้

ทุกอย่างเข้ากันได้ดีกับผู้ป่วย เพราะเรารู้ว่าโอกาสที่จะหาสเต็มเซลล์ตรงกันนั้น มันยากมากจริงๆ เมื่อเจอแล้ว ก็อยากช่วยให้ถึงที่สุด ซึ่ง

หลังจากเก็บสเต็มเซลล์เรียบร้อยแล้ว สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่มีความผิดปกติใดๆ แถมยังให้ความรู้สึกว่าร่างกายแข็งแรงขึ้น

ด้วยซ้ำ ส่วนสุขภาพใจ เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขค่ะ

เชิญชวนเยาวชน

เพราะโลหิตเป็นปัจจัยที่สำคัญกับชีวิตมนุษย์ ถึงมีเงินล้นฟ้า ก็ซื้อชีวิตกลับมาไม่ได้ เพียงแค่เรามีแค่น้ำใจ ช่วยเหลือชีวิตเพื่อน

มนุษย์ด้วยกัน ก็ถือเป็นกุศลอันสูงสุดกับตัวเราค่ะ มีความสุขทั้งผู้ให้ และผู้รับ ปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกหลายชีวิต รอความช่วยเหลืออยู่ เรา

มาร่วมกันสานฝัน และความหวังของพวกเขาให้เป็นจริงกันเถอะค่ะ

แบต สิทธา แสนสมบูรณ์

แนะนำตัว

สวัสดีครับ ผมชื่อสิทธา แสนสมบูรณ์สุข ชื่อเล่นชื่อแบต ปัจจุบันเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน ชั้นปีที่ 4 งานอดิเรกชอบการถ่ายรูป ฝึกมวยไทยไชยา แล้วก็ขี่รถเที่ยวครับ

จุดเริ่มต้นของการบริจาคโลหิต และการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์

เริ่มบริจาคโลหิตเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วครับ โดยบริจาคที่ศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติครั้งแรกในวันเกิด เพราะผมคิดว่าการที่โลหิตของเราได้นำไปช่วยชีวิตใครสักคนถือเป็นบุญมหาศาล ส่วนการลงทะเบียนเป็นอาสา สมัครบริจาคเสต็มเซลล์ พอดีว่าในวันที่บริจาคโลหิต ไม่คิดว่าจะถูกเรียก ให้มาบริจาคเร็วขนาดนี้เหมือนกัน

ความเข้าใจเรื่องของการบริจาคสเต็มเซลล์

ทราบแค่ว่าเป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต หรือสเต็มเซลล์ที่ผลิตจาก ไขกระดูก เพื่อนำไปใช้รักษาโรคทางโลหิต และหาคนที่จะบริจาคได้ยาก เนื่องจากหาคนที่สเต็มเซลล์ตรงกันยากมากครับ

ความรู้สึกเมื่อทราบว่าตนเองมีสเต็มเซลล์ตรงกับผู้ป่วย

แอบตกใจนะครับ (ฮ่าๆ) เพราะตอนที่เจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งรู้สึกว่า ลงทะเบียนไปได้ปีกว่า หรืออาจจะไม่ถึงปีครับ ผมก็ถามเจ้าหน้าที่เรื่อง ขั้นตอนการบริจาค หลังจากนั้นก็เข้าไปคุยที่สภากาชาดไทยเลย ดีใจมากครับ

การมีส่วนร่วม และกำลังใจของคนในครอบครัว (โดยเฉพาะคุณแม่ ที่เป็นกำลังใจให้)

ตอนแรกคุณแม่ก็เป็นกังวลครับ ว่าจะมีผลเสียอะไรในระยะยาว หรือว่าต้องมีการเจาะไขกระดูกไหม เพราะเท่าที่ท่านทราบ เรื่องการ เก็บสเต็มเซลล์ค่อนข้างน่ากลัว แต่พอรู้ว่าได้เก็บจากเส้นโลหิตที่แขนได้ ก็โล่งใจครับ ท่านดีใจว่าเหมือนเราได้สร้างมหากุศลที่ยิ่งใหญ่ และแม่ มาเป็นกำลังใจให้วันที่เก็บสเต็มเซลล์ที่สภากาชาดไทยครับ

เชิญชวน

อยากให้ทุกคนได้ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ ไว้ครับ เพราะเราไม่ทราบว่าอาจจะมีใครมุมใดมุมหนึ่งของโลกกำลังรอ ความช่วยเหลือจากคุณอยู่ก็เป็นได้ เมื่อคุณมีโอกาสที่จะเสียสละบางอย่าง ซึ่งร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เพื่อเปลี่ยนชีวิตคนหนึ่งไปตลอดกาล

การให้โอกาสได้มีชีวิตใหม่ คุณจะคว้าไว้ไหมครับ ตอนที่ผมบริจาค สเต็มเซลล์ ผมได้แอดมิดอยู่ห้องติดกับผู้ป่วยเด็กอายุ 16 ปี ซึ่งป่วยเป็น มะเร็งเม็ดโลหิตขาว เป็นโลหิตกรุ๊ปหายาก และกำลังขาดเกล็ดเลือด ตอนนั้นผมคิดว่าถ้าวันหนึ่งเป็นผมที่ต้องนอนรอความช่วยเหลือแบบนั้น ขึ้นมา ผมจะเป็นอย่างไร อะไรที่เราสามารถมอบให้กันได้ในฐานะเพื่อนมนุษย์ ก็ทำเถอะครับ โลกเรามันจะได้น่าอยู่ขึ้น 🙂

สาคริต นันทจิต ผู้บริจาคร่างใหญ่ ใจดี

สาคริต  นันทจิต  ผู้บริจาคร่างใหญ่ ใจดี

ฟิตร่างกาย….ให้สเต็มเซลล์ผู้ป่วยชาวอเมริกัน

ครอบครัวเฮ….สเต็มเซลล์ตรงกับผู้ป่วยอเมริกัน

ทุกคนในครอบครัวเฮลั่น เมื่อทราบว่าเรามีสเต็มเซลล์ตรงกับผู้ป่วย  โดยความรู้สึกส่วนตัว ผู้ป่วยเป็นคนสหรัฐอเมริกา แต่บังเอิญมาเจอสเต็มเซลล์จากผม ซึ่งเป็นคนไทย ผมคิดว่าเราคงจะต้องทำบุญร่วมกันมา เพราะสัดส่วนที่เราจะเจอสเต็มเซลล์จากชาวต่างชาติ มีเพียง 1 ใน 50,000 เท่านั้น

ฟิตร่างกายเตรียมความพร้อมก่อนให้

ผมพยายามฟิตร่างกายให้แข็งแรง โดยการวิ่งวันละ 10 กิโลเมตร ตลอดระยะเวลากว่า 5 เดือน ก่อนทำการบริจาค เพราะทราบตัวเองดีว่า จะบริจาคสเต็มเซลล์ให้กับใครนั้น ต้องเริ่มจากการสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายก่อนเป็นสำคัญ เพื่อให้สเต็มเซลล์ที่ผู้ป่วยได้รับไป    เป็นสเต็มเเซลล์ที่มีคุณภาพสูงสุด

บริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต

เนื่องจากผู้ป่วยเป็นชาวอเมริกัน ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน และมีน้ำหนักตัวถึง 136 กิโลกรัม  ผมต้องแบกรับน้ำหนักตัวเขาเยอะมาก การเก็บสเต็มเซลล์ของผม จึงต้องทรหดอดทนพอสมควร  เพราะต้องใช้สเต็มเซลล์ในปริมาณมาก และต้องกระตุ้นยาในปริมาณที่สูงกว่าผู้บริจาคทั่วๆ ไป ผมได้รับการฉีดยากระตุ้น GCSF เป็นเวลา 5 วัน เพราะต้องกระตุ้นสเต็มเซลล์ออกมาให้ได้มากที่สุด หลังจากฉีดยากระตุ้นตัวนี้ จะส่งผลให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตัวร้อน เหมือนจะเป็นไข้ โดยฉีดทั้งเช้า และบ่าย หลังจากนั้นแพทย์จะดำเนินการเก็บสเต็มเซลล์จากทางกระแสโลหิต ใช้เวลาในการบริจาค 2 วัน    วันละประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องทานแคลเซียมเสริม ป้องกันอาการมือสั่น ปากสั่น เพราะขาดแคลเซียม หลังจากการบริจาคสเต็มเซลล์ ผมก็กลับมาวิ่ง และฟิตร่างกายเหมือนเดิม เตรียมความพร้อม เผื่อว่าในอนาคตจะมีสเต็มเซลล์ไปตรงกับใครอีกครับ

เชิญชวน

อย่าได้กลัวการบริจาคสเต็มเซลล์เลยครับ เพียงแค่เราดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายทุกวัน เราก็พร้อมเป็นผู้ให้ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคโลหิต อวัยวะ ดวงตา ร่างกาย หรือแม้กระทั่งสเต็มเซลล์ การให้ในรูปแบบนี้ เป็นประสบการณ์ที่สร้างความสุข และความสนุกให้กับชีวิต

“ต๊อบ ประคัลภ์” บริจาคสเต็มเซลล์ ช่วยผู้ป่วยลิวคีเมียในต่างแดน

“ต๊อบ” ประคัลภ์  ใบงาม

บริจาคสเต็มเซลล์ช่วยผู้ป่วยลิวคีเมียสัญชาติอเมริกันในต่างแดน

อายุ 34 ปี  หมู่โลหิต AB

ทำงานบริษัทเอกชน ด้านอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจ Food Business

จุดเริ่มต้นของการให้

เริ่มต้นจากการบริจาคโลหิตเป็นประจำ กว่า 31 ครั้ง และได้มีโอกาสลงทะเบียนบริจาคสเต็มเซลล์ หลังจากการลงทะเบียนไปประมาณ 3 ปี จึงได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการโลหิตฯ พร้อมทั้งเชิญให้ผมเข้าไปที่ศูนย์บริการโลหิตฯ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการบริจาค รวมถึงให้รับทราบขั้นตอน และกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์ ซึ่งผู้ป่วยเป็นคนเชื้อสายเอเชียที่มีสัญชาติเป็นอเมริกัน และป่วยเป็นโรคไขกระดูกฝ่อ

เมื่อทราบว่าสเต็มเซลล์ตรงกับชาวต่างชาติ

รู้สึกประหลาดใจมาก เพราะเขาเป็นผู้ป่วยคนละสัญชาติ คนละภาษา สเต็มเซลล์ของคนไทยด้วยกัน ผมก็ว่าเข้ากันได้ยากมากแล้ว แต่ผู้ป่วยเขาเป็นชาวต่างชาติ โอกาสยิ่งยากกว่า คนในครอบครัวเมื่อทราบข่าว ล้วนสนับสนุน และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สเต็มเซลล์ คือโอกาสในการทำบุญครั้งหนึ่งของชีวิต

ประสบการณ์การบริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต

เนื่องจากพยาบาลเห็นว่าผมมีเส้นโลหิตดำที่ใหญ่พอ ผมจึงได้บริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น หลังจากการบริจาค สุขภาพร่างกายของผมแข็งแรงเป็นปกติดี ติดเพียงแค่ก่อนทำการบริจาค ตัวยา G-CSF ที่ฉีดเพื่อกระตุ้นการสร้างสเต็มเซลล์ในกระแสโลหิต ส่งผลให้ร่างกายปวดเมื่อย และง่วงนอนตลอดเวลา แต่สำหรับผมแล้ว นับว่าเป็นผลกระทบที่เล็กน้อยมาก

เชิญชวน

การบริจาคโลหิตก็ดี หรือการบริจาคสเต็มเซลล์ก็ดี ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิด นอกจากจะได้บุญมากมายมหาศาลแล้ว ยังเป็นการสร้างเม็ดโลหิตใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยที่เราไม่ได้สูญเสียอะไร นอกจากโลหิตเพียงไม่กี่ซีซีเท่านั้น ถ้าเราเป็นชาวพุทธ และมีความเชื่อเรื่องบุญเรื่องกรรม การทำแบบนี้เป็นการทำบุญ โดยที่เรายังมีชีวิตอยู่ และเรายังได้ซึมซาบความรู้สึกสุขเหล่านั้นด้วย