เข้าสู่ระบบ
เลือกภาษา
ติดต่อ ดาวน์โหลด

จาตุรนต์ มีมั่งคั่ง

“จาตุรนต์  มีมั่งคั่ง” ผู้บริจาคสเต็มเซลล์

กับครอบครัวที่น่ารัก สนับสนุนการทำบุญ ทำความดี ทุกรูปแบบ

(รูปผู้บริจาค และครอบครัวมีมั่งคั่ง)

นายจาตุรนต์  มีมั่งคั่ง (เม่น) อายุ 42 ปี ประกอบอาชีพช่างภาพอิสระ

บริจาคโลหิต เม็ดโลหิตแดง และเกล็ดโลหิตรวม 40 ครั้ง

วันที่….คุณจาตุรนต์ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์

มารดา: แม่ไม่ทราบเรื่องการลงทะเบียนมาก่อน มาทราบอีกทีตอนที่ลูกชายจะบริจาคสเต็มเซลล์แล้ว ซึ่งแม่มาดูเขาทุกขั้นตอน จนกระทั่งเขาบริจาคเสร็จ ส่วนตัวแล้วแม่ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการบริจาคสเต็มเซลล์ซักเท่าไร เข้าใจเพียงว่ามันเป็นแค่กลุ่มเลือดชนิดหนึ่ง แต่ลูกชายบอกว่าสเต็มเซลล์มันเป็นต้นกำเนิดเม็ดเลือด สามารถเอาไปช่วยผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยการปลูกถ่าย  ซึ่งตอนนี้ลูกชายของแม่ก็มีสเต็มเซลล์ตรงกับผู้ป่วยแล้ว แถมเขายังเป็นเด็กด้วย ถ้าลูกชายเราได้ทำบุญให้เขา ได้ช่วยเขา แม่ก็ดีใจ

ภรรยา: ตัวพี่เองลงทะเบียนพร้อมพี่เม่น โดยพี่จะบริจาคเป็นเลือด ส่วนพี่เม่นเขาบริจาคเป็นเกล็ดเลือดทุก1 เดือน จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่เชิญชวนให้ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครฯ ซึ่งเราทั้ง 2 คน คิดว่าควรลงทะเบียนเอาไว้ เพราะเป็นการช่วยชีวิตคน ยิ่งพอเรารู้ว่าพี่เม่นตรง เรายังรู้สึกว่าดีเนอะ ที่สามีได้มีโอกาสช่วยชีวิตคนอีก 1 คน ให้เขามีชีวิตอยู่ต่อไป

บริจาคสเต็มเซลล์ทางกระแสโลหิต….ช่วยเด็กป่วยโลหิตจาง

คุณจาตุรนต์: เกิดความรู้สึกดีใจที่ได้ช่วยผู้ป่วย อาจจะอึดอัดบ้างที่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่เรื่องการบริจาคไม่มีปัญหาเลย ส่วนตัวผมไม่ได้รู้สึกว่าการบริจาคครั้งนี้มันยิ่งใหญ่ เพราะทุกคนที่ลงทะเบียนก็มีสิทธิ์ที่จะได้บริจาคอยู่แล้ว เพียงแต่เขายังมีสเต็มเซลล์ไม่ตรงกับผู้ป่วยแค่นั้นเอง สำหรับผมถือว่าเป็นความโชคดีซะด้วยซ้ำ ที่บังเอิญมีสเต็มเซลล์ตรงกับผู้ป่วยแล้ว ถ้าเขาจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ผมเองก็ดีใจ

เชิญชวน

ภรรยา: อยากให้ช่วยกันลงทะเบียนเยอะๆ แค่เราคิดว่าจะช่วย ก็ถือว่าได้บุญแล้ว เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถบริจาคเลือดได้ บางคนอาจจะติดขัดปัญหาเรื่องสุขภาพร่างกายไม่พร้อม  แต่ถ้าเรามีโอกาสที่จะบริจาคเลือดได้ ก็ขอให้ช่วยกันบริจาค เราเจ็บเพียงนิดเดียว แต่ได้ช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วย และยังเป็นการช่วยครอบครัวของเขาอีกด้วย

คุณจาตุรนต์: ขอให้คนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง บริจาคเลือด และช่วยกันลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง

โย่งและก้อยอาร์มแชร์ ชวนมอบรัก ให้โลหิต ให้ Stem Cell

         ขณะเดินเก็บภาพบรรยากาศภายในศูนย์บริการโลหิตฯ อยู่นั้น สายตาพลันเห็นหนุ่มตัวสูงยาว หน้าตาคมเข้ม ควงคู่มากับสาวสวย หน้าหมวย   ว้าว…..นั่นคือ คู่รักศิลปินอินดี้ โย่ง (อาร์มแชร์)   และก้อย   (แซทเทอร์เดย์ เซย์โกะ) ฉบับนี้จึงขอนำบทสัมภาษณ์แรงบันดาลใจที่ทำให้ควงคู่กันมาบริจาคโลหิตในวันหวานๆ  และขอเก็บภาพน่ารักๆ มาฝากผู้อ่านกันค่ะ

ขอส่งถ่ายความรักให้กับผู้ป่วย ด้วยการให้โลหิต

โย่ง: เราก็บริจาคโลหิตกันอยู่แล้วครับ แต่มาที่ศูนย์บริการโลหิตฯ เป็นครั้งที่ 2 เท่านั้น จริงๆ แล้ว มันไม่จำเป็นต้องบริจาคโลหิตวันวาเลนไทน์ หรือวันแห่งความรักก็ได้ แต่ถ้าเราอยากจะเริ่มต้นทำความดีสักอย่าง เราก็น่าจะหาโอกาสพิเศษ หรือวันสำคัญๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับตัวเอง คนที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิต อาจจะคิดว่ามันน่ากลัว มันเจ็บ ผมขอให้คิดว่าความเจ็บเพียงเท่านี้ มันเทียบไม่ได้กับคนที่เขาบาดเจ็บ เสียโลหิต และต้องการโลหิตจากผู้บริจาคอย่างเรา ส่วนตัวคิดว่าโลหิตที่ได้รับจากการบริจาคทุกวันนี้ยังมีปริมาณน้อยอยู่ เพราะไม่เพียงแต่ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น ยังมีผู้ป่วยที่เสียโลหิตจากการผ่าตัด และผู้ป่วยโรคเลือด นอกจากการบริจาคโลหิตจะได้บุญแล้ว ยังเป็นการถ่ายเทโลหิตในอีกรูปแบบหนึ่ง ทำให้ไขกระดูกได้ผลิตเม็ดโลหิตใหม่ๆ ขึ้นมา

ก้อย:  โดยส่วนตัวก้อยคิดว่า เราเป็นคู่ที่มีความรักให้กันอยู่แล้ว เราจึงหาโอกาสในวันดีๆ ที่จะมอบความรักให้กับผู้อื่นด้วย เพราะคิดว่ายังมีอีกหลายๆ คนที่ต้องการโลหิต เวลาที่เกิดวิกฤติหลายๆ ครั้ง การขาดแคลนโลหิตยังเป็นอะไรที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆ ถ้าเรา 2 คน สามารถทำประโยชน์อะไรให้กับผู้อื่นได้ เราก็อยากจะทำ

ล็อควัน ล็อคเวลา และเตรียมร่างกายให้พร้อม

โย่ง: จริงๆ ช่วงนี้เรามีออกคอนเสิร์ตตลอดเหมือนกัน แต่เราก็สามารถเตรียมความพร้อมได้ ด้วยการล็อควัน ล็อคเวลาไว้ แล้วนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารมาก่อน ไม่ดื่มเหล้า และไม่สูบบุหรี่จัด เป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้

ความรู้สึกจากใจ ขณะได้ให้โลหิต และลงทะเบียน Stem Cell

ก้อย: รู้สึกดีมากๆ ถ้าโลหิตเราจะไปสู่อณูที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เราอาจไม่รู้ว่าปลายทางโลหิตของเรานั้นไปอยู่ที่ใด แต่ระหว่างที่โลหิตของเราออกจากร่างกายไปนั้น มันเกิดความสุขขึ้นในใจ

โย่ง: สำหรับการลงทะเบียน Stem Cell นั้น ผมคิดว่ามันเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยมากๆ  โดยเฉพาะโรคโลหิตจาง และโรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวก็มักเกิดขึ้นกับเด็กๆ ทั้งนั้น พวกเขาควรได้มีโอกาสเจริญเติบโต และได้ใช้ชีวิตที่เป็นปกติสุขเหมือนกับคนทั่วๆ ไป เพราะฉะนั้น ความเจ็บเพียงเล็กๆ น้อยๆ มันแลกกับการที่เราได้ให้ชีวิตอีก 1 ชีวิตได้อยู่ต่อไป ถือว่าคุ้มค่าที่สุดครับ

ทำดีง่ายๆ สไตล์ ไอซ์ ศรัณยู วินัยพานิช

ทำดีแบบง่ายๆ สไตล์ ไอซ์ ศรัณยู”

  • เริ่มบริจาคโลหิต

ผมบริจาคเลือดที่ศูนย์บริการโลหิตฯ และตามหน่วยเคลื่อนที่ รวม 4-5 ครั้งครับ ผมมีความรู้สึกว่าการให้เลือดเหมือนกับการให้ชีวิต การทำบุญกับมนุษย์เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เป็นบุญอีกรูปแบบหนึ่งที่เราได้ให้สิ่งที่มีอยู่ในร่างกายเราต่อประโยชน์ให้กับผู้อื่น (พระเอกมากอ่ะ 55)

  • ความรู้สึกขณะบริจาคโลหิต

รู้สึกดีครับ อย่างที่บอก อะไรก็ตามที่มาจากตัวเรา และสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ ผมว่ามันดีนะ  อวัยวะ หรือร่างกายผมก็บริจาคหมดแล้ว ในสมัยก่อนผู้ใหญ่อาจบอกว่า อย่าบริจาคนะเดี๋ยวชาติหน้าเกิดมาไม่ครบ  แต่ผมคิดว่าการทำบุญให้เขา มันน่าจะดีสิ  

  • ลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาค Stem Cell ด้วย

ผมเคยได้ยินเรื่องการบริจาค Stem Cell บ่อยๆ ในรายการทีวี แต่ก่อนไม่เข้าใจเท่าไร ตอนนี้รู้แล้วว่ามันคือการปลูกถ่ายไขกระดูก เพื่อผู้ป่วยที่กำลังทรมาน คือมันไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง ผมก็ไม่มีความรู้ด้านการแพทย์นะ แต่ผมเข้าใจว่าการที่ให้เลือดได้ถ่ายหมุนเวียนออกไป น่าจะทำให้สุขภาพร่างกายดี สดชื่น กระปรี้กระเปร่า

  • เตรียมความพร้อม บริจาคโลหิต

ไม่ยากเลยจริงๆ แค่พักผ่อนให้เพียงพอ ปกติไอซ์นอน ตี 1 ตี 2 อย่างวันนี้ไอซ์มีงานช่วงบ่าย 2 ก็รู้สึกว่าวันนี้อยากมาบริจาคเลือดช่วงเช้า เมื่อคืนก็เลยพยายามนอนก่อนเที่ยงคืน

  • เชิญชวน

แต่ก่อนผมเป็นคนที่กลัวการให้เลือด เพราะรู้สึกเอาไปเยอะ แต่ในความเป็นจริง ก็ไม่ได้น่ากลัวขนาดนั้น แล้วก็เป็นการช่วยเหลือผู้อื่นด้วย ต่อให้เลือด หรือ Stem Cell คุณจะเข้ากับคนอื่นไม่ได้ หรืออาจจะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ แต่อย่างน้อยๆ การ Stand by เพื่อก่อประโยชน์ให้กับผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี อีกอย่างมันทำให้คุณได้ดูแลตัวเองด้วย อย่างเรารู้ว่าจะมาบริจาคเลือด เราก็พยายามทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ บางคนมาๆ หายๆ อาจจะเป็นด้วยช่วงเวลาที่ไม่ว่าง ไม่สะดวก ก็พยายามทำให้ได้สม่ำเสมอ สัก 2 ครั้งต่อปี ก็ถือว่าโอเคแล้วครับ แค่จุดเริ่มต้นในการคิดจะทำเพื่อคนอื่น มันก็ดีเกินพอแล้ว..

 

Interview

หลังจากที่ผู้เขียนได้พบกับโบ ณิชชารีย์ เดชส่งจรัสโดยบังเอิญที่งานจุฬา’ วิชาการ โบว์กำลังให้สัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองเรื่องโรคลิวคีเมีย� ดังนั้น ครอบครัวสเต็มเซลล์ฉบับปฐมฤกษ์� จึงไม่พลาดโอกาสที่จะเชิญโบมานั่งพูดคุยกัน เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยอีกหลายๆ คน ที่กำลังรอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

���������������������������������������� 

สัญญาณเตือน

“ตอนนั้นโบอยู่ ม.3 ต้องเล่นวอลเล่ย์บอลที่โรงเรียน ปรากฏว่าแขนเขียวช้ำล้ำหน้าเพื่อนมากเกือบทั้งแขนจนน่าตกใจ หน้าก็ซีดจนคนรอบข้างทัก ปวดท้องเป็นประจำ (ซึ่งมารู้ตอนหลังว่าม้ามโต)� ไม่มีแรงทำอะไรเลย ” ครอบครัวจึงพาโบไปหาหมอ นั่นทำให้โบรู้ว่าตนเองเป็นโรคเลือด ” พ่อบอกโบว่า โบเป็น� ALL หรือโรคเลือดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นอะไรมาก ” พ่อกับแม่พูดคุยกับโบเหมือนปกติ และไม่เคยแสดงอาการวิตกกังวลให้โบเห็น� ” ตราบใดที่พ่อกับแม่ยังไม่เครียด แล้วโบจะเครียดไปทำไม เครียดไปก็เปล่าประโยชน์ จริงไหมล่ะ… “

สู้กับยา สู้กับโรค

ก่อนทำการรักษา โบต้องเจาะไขกระดูก เพื่อให้แพทย์นำไปวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด ” โดนยาเคมีบำบัดอยู่หลายโดส อาการข้างเคียงคงไม่ต้องบรรยายว่าทรมานขนาดไหน ทั้งอาเจียน เป็นร้อนใน ปากพอง กินข้าวไม่ได้ หน้าบวม ผมร่วงทั้งหัว ” ทำเคมีบำบัดอยู่ประมาณ 8 เดือน แพทย์จึงแนะนำให้โบปลูกถ่ายไขกระดูก ” ทุกคนในครอบครัวโดนเจาะเลือด เพื่อดูว่ามีไขกระดูก (ลักษณะเนื้อเยื่อ HLA) เข้ากันกับโบหรือไม่� ปรากฏว่าน้องสาวมีไขกระดูกตรงกันกับโบ วันนี้โบเลยได้รู้ว่าดีใจจนร้องไห้มันเป็นยังไง … “

กำลังใจจากครอบครัว

” โบถือว่ากำลังใจจากคนในครอบครัวเป็นยาวิเศษค่ะ เราผ่านช่วงเวลาที่ทรมานจากการให้เคมีบำบัด เรารักษาด้วยความสบายใจ ไม่เครียด สุขภาพจิตดีเต็มร้อยก็เพราะครอบครัวที่แสนดีของโบ “

ชีวิตใหม่หลังการปลูกถ่าย

” หลังจากปลูกถ่ายไขกระดูกแล้ว โบก็กลับมาเริงร่ากับชีวิตอย่างมีขอบเขตค่ะ คือ เราใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างที่เราอยากทำ ไปโรงเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนที่มหาวิทยาลัย ออกค่ายอาสาฯ แต่ในขณะเดียวกัน ก็พยายามดูแลสุขภาพ ไม่ทำอะไรเสี่ยงๆ เพราะหลังจากปลูกถ่าย โบจะมีปัญหาเรื่องกระดูกบาง ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ กีฬาบางอย่างที่อาจเสี่ยงต่อการล้มหรือกระแทกก็ต้องงด ถ้ามีเวลานอกเหนือจากการเรียน ก็จะเป็น Case Study ให้นักศึกษาแพทย์ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ ค่ะ “

ฝากถึงผู้บริจาค

” …สำหรับผู้ป่วยที่อาจจะไม่โชคดีอย่างโบ ไม่มีพี่น้องที่มีสเต็มเซลล์เข้ากันได้ การบริจาคสเต็มเซลล์นี่แหละค่ะ ที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยเหล่านั้น� ปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกเป็นจำนวนมากที่รอคอยสเต็มเซลล์ของใครสักคนที่จะช่วยให้เขา หายจากโรคที่ร้ายแรง กลับมามีชีวิตที่ปกติได้เหมือนเดิม อย่าลืมนะคะว่า เพียงแค่คุณลงชื่อบริจาคสเต็มเซลล์ ก็เท่ากับว่าคุณได้สร้างโอกาสในการมีชีวิตอยู่ให้กับคนคนนึงค่ะ… 

 

If you are register today, you may be giver next day.

If you are register today, you may be giver next day.
ตัวอย่างความรู้สึกจากใจของผู้ที่ค้นพบคู่แท้…และได้มอบชีวิตใหม่ให้แก่กัน               

 

“เนื่องจากว่าหมอก็เป็นนิสิตแพทย์จุฬาฯ ตอนนั้นก็นึกอยากเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตแห่งชาติ  หลังจากที่ได้บริจาคก็รู้สึกดีใจมากครับที่ได้ช่วยชีวิตผู้ป่วย ^_^ ”
หมอโหน่ง  ศัลยวิทย์ จิตต์มิตรภาพ (โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)

“ได้มีโอกาสบริจาคให้พี่สาว เมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ดีใจที่ทำให้พี่สาวหายขาดจากโรคที่ร้ายแรง และกลับมามีชีวิตที่สดใสเหมือนเดิม ปัจจุบันมีผู้ป่วยอีกมากที่มี สเต็มเซลล์ไม่ตรงกันกับพี่น้อง จึงอยากให้เพื่อนๆ มาบริจาคกันเยอะๆ เพื่อเป็นการสร้างโอกาส และมอบชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยค่ะ…”
นงนภัส เตชส่งจรัส นักศึกษาแพทย์ ปี 6 (โรงพยาบาลรามาธิบดี)

“แค่ลงทะเบียน ก็ช่วยเพื่อนร่วมโลกได้แล้ว การที่คนอื่นสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ ดดนที่เรามีส่วนช่วยทั้งที่ไม่ได้เป็นหมอนั้นเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์(^_^) รู้สึกขอบคุณสเต็มเซลล์ ที่มีคุณลักษณะพิเศษจริงๆค่ะ”
ดาว พิมพ์นภา สุขสมใจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

“พอดีว่ามีเพื่อนที่ป่วยเป็นโรคลิวคีเมีย T_T เลยได้ทราบจากเพื่อนว่าแค่ลงทะเบียนบริจาคไว้ก็นับว่าเป็นการช่วยผู้ป่วยได้มากแล้ว แต่เมื่อพรีมมีโอกาสได้บริจาคสเต็มเซลล์ให้กับผู้ป่วยจริงๆ มีความสุขและตื้นตันใจมากเลยค่ะ”
พรีม อัมภิณี ชิวปรีชา (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)