เข้าสู่ระบบ
เลือกภาษา
ติดต่อ ดาวน์โหลด

Interview

หลังจากที่ผู้เขียนได้พบกับโบ ณิชชารีย์ เดชส่งจรัสโดยบังเอิญที่งานจุฬา’ วิชาการ โบว์กำลังให้สัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองเรื่องโรคลิวคีเมีย� ดังนั้น ครอบครัวสเต็มเซลล์ฉบับปฐมฤกษ์� จึงไม่พลาดโอกาสที่จะเชิญโบมานั่งพูดคุยกัน เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยอีกหลายๆ คน ที่กำลังรอรับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์

���������������������������������������� 

สัญญาณเตือน

“ตอนนั้นโบอยู่ ม.3 ต้องเล่นวอลเล่ย์บอลที่โรงเรียน ปรากฏว่าแขนเขียวช้ำล้ำหน้าเพื่อนมากเกือบทั้งแขนจนน่าตกใจ หน้าก็ซีดจนคนรอบข้างทัก ปวดท้องเป็นประจำ (ซึ่งมารู้ตอนหลังว่าม้ามโต)� ไม่มีแรงทำอะไรเลย ” ครอบครัวจึงพาโบไปหาหมอ นั่นทำให้โบรู้ว่าตนเองเป็นโรคเลือด ” พ่อบอกโบว่า โบเป็น� ALL หรือโรคเลือดชนิดหนึ่ง ไม่เป็นอะไรมาก ” พ่อกับแม่พูดคุยกับโบเหมือนปกติ และไม่เคยแสดงอาการวิตกกังวลให้โบเห็น� ” ตราบใดที่พ่อกับแม่ยังไม่เครียด แล้วโบจะเครียดไปทำไม เครียดไปก็เปล่าประโยชน์ จริงไหมล่ะ… “

สู้กับยา สู้กับโรค

ก่อนทำการรักษา โบต้องเจาะไขกระดูก เพื่อให้แพทย์นำไปวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด ” โดนยาเคมีบำบัดอยู่หลายโดส อาการข้างเคียงคงไม่ต้องบรรยายว่าทรมานขนาดไหน ทั้งอาเจียน เป็นร้อนใน ปากพอง กินข้าวไม่ได้ หน้าบวม ผมร่วงทั้งหัว ” ทำเคมีบำบัดอยู่ประมาณ 8 เดือน แพทย์จึงแนะนำให้โบปลูกถ่ายไขกระดูก ” ทุกคนในครอบครัวโดนเจาะเลือด เพื่อดูว่ามีไขกระดูก (ลักษณะเนื้อเยื่อ HLA) เข้ากันกับโบหรือไม่� ปรากฏว่าน้องสาวมีไขกระดูกตรงกันกับโบ วันนี้โบเลยได้รู้ว่าดีใจจนร้องไห้มันเป็นยังไง … “

กำลังใจจากครอบครัว

” โบถือว่ากำลังใจจากคนในครอบครัวเป็นยาวิเศษค่ะ เราผ่านช่วงเวลาที่ทรมานจากการให้เคมีบำบัด เรารักษาด้วยความสบายใจ ไม่เครียด สุขภาพจิตดีเต็มร้อยก็เพราะครอบครัวที่แสนดีของโบ “

ชีวิตใหม่หลังการปลูกถ่าย

” หลังจากปลูกถ่ายไขกระดูกแล้ว โบก็กลับมาเริงร่ากับชีวิตอย่างมีขอบเขตค่ะ คือ เราใช้ชีวิตวัยรุ่นอย่างที่เราอยากทำ ไปโรงเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนที่มหาวิทยาลัย ออกค่ายอาสาฯ แต่ในขณะเดียวกัน ก็พยายามดูแลสุขภาพ ไม่ทำอะไรเสี่ยงๆ เพราะหลังจากปลูกถ่าย โบจะมีปัญหาเรื่องกระดูกบาง ต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ กีฬาบางอย่างที่อาจเสี่ยงต่อการล้มหรือกระแทกก็ต้องงด ถ้ามีเวลานอกเหนือจากการเรียน ก็จะเป็น Case Study ให้นักศึกษาแพทย์ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ ค่ะ “

ฝากถึงผู้บริจาค

” …สำหรับผู้ป่วยที่อาจจะไม่โชคดีอย่างโบ ไม่มีพี่น้องที่มีสเต็มเซลล์เข้ากันได้ การบริจาคสเต็มเซลล์นี่แหละค่ะ ที่จะสามารถช่วยผู้ป่วยเหล่านั้น� ปัจจุบัน ยังมีผู้ป่วยอีกเป็นจำนวนมากที่รอคอยสเต็มเซลล์ของใครสักคนที่จะช่วยให้เขา หายจากโรคที่ร้ายแรง กลับมามีชีวิตที่ปกติได้เหมือนเดิม อย่าลืมนะคะว่า เพียงแค่คุณลงชื่อบริจาคสเต็มเซลล์ ก็เท่ากับว่าคุณได้สร้างโอกาสในการมีชีวิตอยู่ให้กับคนคนนึงค่ะ… 

 

โพสต์ที่เกี่ยวข้อง